หน้าแรก
ช่วยเหลือ
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
ศูนย์การเรียนรู้โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์
»
เรื่องทั่วไป
»
เสนอแนะ,ติชม
»
แย่งปืนมายิงเจ้าของปืน เป็นการป้องกันสมควรแก่เหตุ ?
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
ผู้เขียน
หัวข้อ: แย่งปืนมายิงเจ้าของปืน เป็นการป้องกันสมควรแก่เหตุ ? (อ่าน 594 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
info@siamwebsite.me
บุคคลทั่วไป
แย่งปืนมายิงเจ้าของปืน เป็นการป้องกันสมควรแก่เหตุ ?
«
เมื่อ:
สิงหาคม 22, 2022, 03:49:53 PM »
ใน
การป้องกัน
นั้น จำเป็น
ต้องพิจารณา
ถึงสิ่งที่ใช้ป้องกันด้วย โดยหากเป็น
การป้องกัน
ที่
พอสมควร
แก่เหตุแล้ว จะทำให้ผู้กระทำไม่
มีความผิด
ในทางอาญาเลย แต่ถ้าสิ่งที่ใช้ป้องกัน
มีความรุนแรงเกินจำ
เป็นเพื่อป้องกัน เช่น
ใช้ปืนยิงคนมือเปล่า
ย่อมเป็นการกระทำเกินกว่าจำเป็นเพื่อป้องกันได้ สำหรับ
การป้องกัน
ภยันตราย
จากอาวุธปืนนั้น
หากแย่งปืนมายิงเจ้า
ของเดิมโดยไม่ได้มีการยิงซ้ำ
ถือได้ว่า
เป็น
การป้องกัน
พอสมควร
แก่เหตุ
คำพิพากษาศาลฎีกา
ที่ 8
0
8/254
0
วันเกิดเหตุผู้ตายมาพูดขอ ล. ไปเป็น
ภรรยาจากพ่อตาแม่ยาย
จำเลย
การที่ผู้ตายจับแขน ล. ดึงเข้ามาหาตัวแม้จะมิได้มีเจตนาจะทำร้ายก็ตามแต่ก็
ถือได้ว่า
มีเจตนากระทำอนาจารต่อ ล. เมื่อผู้ตายกระทำการละเมิดต่อกฎหมายและศีลธรรมอย่างร้ายแรง
จำเลย
ย่อมมีสิทธิตามกฎหมายที่จะกระทำ
การป้องกัน
เกียรติยศชื่อเสียง
และ
เสรีภาพ
ของ ล. ผู้เป็นภรรยาของตนได้โดยชอบขณะเกิดเหตุ
จำเลย
ไม่มีอาวุธใดหาก
จำเลย
จะเข้าช่วยเหลือล.ภรรยาของตนด้วยการเข้าทำร้ายผู้ตายด้วยมือเปล่าก็อาจถูก
ผู้ตายชักอาวุธ
ปืนออกมายิงได้ในภาวะเช่นนั้นจึงไม่มีทางเลือกนอกจากแย่งอาวุธปืนจากผู้ตายแล้วยิงผู้ตายถ้าเพียงจะใช้อาวุธปืนตีผู้ตายปืนอาจลั่นไปถูกคนอื่นหรือผู้ตายอาจแย่งคืนมายิงเอาได้
จำเลย
แย่งอาวุธปืนได้ก็ยิงทันทีโดยไม่เลือกว่าจะถูกตรงไหนแล้วทิ้งอาวุธปืนวิ่งหนีการกระทำของ
จำเลย
เป็นการกระทำไป
พอสมควร
แก่เหตุจึงเป็น
การป้องกัน
โดยชอบด้วยกฎหมายตาม
ประมวลกฎหมาย
อาญามาตรา 68
คำพิพากษาศาลฎีกา
ที่ 1262/2553 ผู้ตายใช้มีดอีโต้ไล่ฟัน
จำเลย
มาแล้ว ต่อมาผู้ตาย
ขับรถยนต์กระบะ
กลับมาที่บ้านของ
จำเลย
อีกครั้ง โดยผู้ตายเหน็บอาวุธปืนพก
ลูกซองสั้น
ไว้ที่เอวด้านหน้าขึ้นบันไดไปหา
จำเลย
ที่ชั้นบนและร้องท้าทาย
จำเลย
ให้เอาอาวุธปืนของ
จำเลย
มายิงกันให้ตายกันไปข้างหนึ่ง การกระทำของผู้ตายที่พาอาวุธปืนมาท้าทาย
จำเลย
ดังกล่าวหาใช่เป็น
การข่มขู่
จำเลย
ตามที่โจทก์ฎีกาไม่ แต่ฟังได้ว่าผู้ตายมีเจตนาจะเข้ามาใช้อาวุธปืนยิงทำร้าย
จำเลย
จึงนับเป็น
ภยันตราย
ที่ใกล้จะถึงตัว
จำเลย
แม้ ย. และ ท. ซึ่งอยู่ใต้ถุนบ้านจะไม่เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ชั้นบน แต่ ย. และ ท. ได้ยินเสียงตึงตังโครมครามและได้ยินเสียง
จำเลย
ร้องให้ช่วยก่อนที่เสียงปืนจะดังขึ้น อันแสดงว่าเมื่อผู้ตายขึ้นไปพบ
จำเลย
แล้วมีการต่อสู้กัน
จำเลย
จึงชอบที่จะใช้สิทธิป้องกันตนให้พ้นจาก
ภยันตราย
ซึ่ง
เกิดจากการประทุษร้าย
ของผู้ตายได้ การที่
จำเลย
ยิงปืน 2 นัด แต่ลูกกระสุนปืนถูกผู้ตายเพียงนัดเดียว เมื่อผู้ตายถูกยิงแล้ว
จำเลย
ไม่ได้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายอีก จึงเป็น
การป้องกัน
ที่
พอสมควร
แก่เหตุตาม ป.อ. มาตรา 68 อย่างไรก็ดี หากการต่อสู้เกิดขึ้นด้วยการสมัครใจเข้า
ทะเลาะวิวาท
แม้จะมีการยิงกันเกิดขึ้น ผู้กระทำความผิดก็ไม่
สามารถอ้าง
ป้องกันเพื่อยกเว้นความผิดได้ และหากเป็นการสมัครใจ
ทะเลาะวิวาท
แล้ว ไม่จำเป็น
ต้องพิจารณา
ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายลงมือทำร้ายก่อนแต่อย่างใดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกา
ที่ 1643/2554 ตาม
พฤติการณ์
ที่ผู้ตายยืนร้องตะโกนด่าอยู่หน้าบ้านแล้ว
จำเลย
ที่ 2 ออกไปแย่งอาวุธปืนแล้วตีศีรษะผู้ตายโดยแรงทันที แม้ข้าง
ศพผู้ตาย
จะมีมีดปลายแหลมตกอยู่โดย
จำเลย
ที่ 2 อ้างว่าเมื่อแย่งอาวุธปืนจากผู้ตายแล้ว
ผู้ตายชักอาวุธ
มีดจะแทง
จำเลย
ที่ 2 แต่การที่
จำเลย
ที่ 2 ตะโกนว่า “ทนไม่ไหวแล้วโว้ย” แล้ววิ่งเข้าไปแย่งอาวุธปืนจากผู้ตายอันมีลักษณะเหมือนจะทำร้ายผู้ตาย จึงมี
สภาพเสมือน
จำเลย
ที่ 2 สมัครใจเข้าไปวิวาทกับผู้ตาย ไม่อาจยกเอา
การป้องกัน
สิทธิของตนขึ้นอ้างเพื่อลบล้างความผิดของตนได้
คำพิพากษาศาลฎีกา
ที่ 935/2554 การที่
จำเลย
พกมีดปลายแหลมไปตามหาผู้เสียหายที่บ้าน เพราะโกรธผู้เสียหายที่ไปทำร้าย ส. บุตรเขย
จำเลย
เมื่อผู้เสียหายได้ยินจึงเดินออกจากบ้าน แล้วต่างฝ่ายต่างเดินเข้าหากัน ผู้เสียหายชกต่อย
จำเลย
ไป 1 ครั้ง ขณะเดียวกัน
จำเลย
ก็ใช้มีดปลายแหลมแทงผู้เสียหายหลายครั้ง ตาม
พฤติการณ์
ดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นว่า
จำเลย
สมัครใจวิวาทกับผู้เสียหาย จะอ้างเหตุว่าจำต้องกระทำเพื่อป้องกันตัวไม่ได้ การกระทำของ
จำเลย
จึงไม่เป็น
การป้องกัน
โดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกา
ที่ 864/2554 ในวันเกิดเหตุตอนเช้าเวลาประมาณ 1
0
นาฬิกา
จำเลย
ที่ 1 มีเหตุชกต่อยกับผู้ตายมาก่อน มีอาจารย์เข้ามาห้ามแต่
จำเลย
ที่ 1 กับพวกก็ยังคงไม่ยุติ ออกติดตามหากลุ่มของผู้ตายต่อไป แสดงให้เห็นว่า
จำเลย
ที่ 1 กับพวก ยังต้องการพบผู้ตายด้วยสาเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด มิฉะนั้นคงไม่ออกติดตามจนกระทั่งมาพบผู้ตายตอนเย็น
จำเลย
ที่ 1 ก็เดินเข้าไปหาผู้ตายทั้งๆ ที่ก็ทราบดีอยู่แล้วว่า
จำเลย
ที่ 1 กับผู้ตายมีเหตุ
ทะเลาะวิวาท
กันในตอนเช้า การเดินเข้าไปหาผู้ตายในลักษณะดังกล่าวนั้น
ย่อมเล็งเห็นผล
แล้วจะต้องเกิดเหตุ
ทะเลาะวิวาท
อย่างหนึ่งอย่างใดอย่างแน่นอน ดังนั้น
จำเลย
ที่ 1 จึงไม่ควรเข้าไปหาผู้ตายก่อน เพราะผู้ตายก็ยังมิได้ทำอะไร
จำเลย
ที่ 1 ส่วนเหตุการณ์ในตอนเช้ายุติไปแล้ว
ไม่มีเหตุการณ์ใดๆ
ที่
จำเลย
ที่ 1 จะต้องเดินเข้าไปหาผู้ตายอีกการที่
จำเลย
ที่ 1 เดินเข้าไปหาผู้ตายโดยมี
อาวุธปืนติดตัว
เตรียมพร้อมมาด้วยจึงไม่มีทางฟังเป็นอย่างอื่น นอกจากต้องการมีเรื่องกับผู้ตายอีก การกระทำของ
จำเลย
ที่ 1 จึงเป็นการสมัครใจ
ทะเลาะวิวาท
กับผู้ตาย และเมื่อเป็นการสมัครใจวิวาทซึ่งกันและกันแล้ว การที่ผู้ตายยิง
จำเลย
ที่ 1 และ
จำเลย
ที่ 1 ก็ยิงผู้ตายเช่นเดียวกัน จึงหาอาจอ้างว่าเป็น
การป้องกัน
ตัวได้ไม่ ดังนั้น
จำเลย
ที่ 1 จึง
มีความผิด
ฐานฆ่าผู้อื่น
https://www
.ซื้อขายอาวุธปืนทุกประเภท.com/news-details.php?ID=812&N=แย่งปืนมายิงเจ้าของปืน%20เป็นการป้องกันสมควรแก่เหตุ%20ผู้ยิงไม่มีความผิดและไม่ต้องรับโทษ
--------------------
ช่องทางการติดต่อ
โทร :
096-7495-369 คุณณัฐกุล
Line :
LINE@
--------------------
ปืนมือสอง
ปืนหลุดจำน
ปืนนอกแท้
ปืนนำเข้าแท้
ปืนนอกราคาถูก
ปืน
รับทำเว็บไซต์
รับทำเว็บไซต์ ราคาถูก
เว็บไซต์ขยายสายงาน
สยามเว็บไซต์ SIAMWEBSITE
--------------------
แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล
บันทึกการเข้า
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
ศูนย์การเรียนรู้โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์
»
เรื่องทั่วไป
»
เสนอแนะ,ติชม
»
แย่งปืนมายิงเจ้าของปืน เป็นการป้องกันสมควรแก่เหตุ ?